หรือเข้าไปที่ facebook ชุมชนบทความไอที แวะเข้ามาชมกันได้ครับ
สวัสดีครับ มาพบกันต่อในส่วนที่ 2 (ตอนที่2.2) ของเรื่อง Class และ Object ในส่วนเรื่อง Class เราได้คุยกันไปในตอนที่แล้ว ตอนที่ 2.1 หากใครยังไม่ได้อ่าน คลิ๊กลิ้งที่นี้ได้เลยครับ
เมื่อตอนที่แล้ว เราก็ได้สร้าง Class เอาไว้แล้ว 1 Class Fan()
หลังจากนั้นเราก็จะเอา Class ที่เราสร้างขึ้นนี้ นำมา Import เพื่อนำมาใช้ method และ Attribute วิธี import คลิ๊กลิ้งที่นี้ครับ คลิ๊กลิ้งที่นี้ครับ
จากภาพด้านบน จะเป็น class อีก หนึ่ง class ที่สร้างใหม่แต่แตกต่างตรง
ที่เป็นคลาสที่มี method main เอาไว้ทำงานเป็นหลัก ผู้เขียนจะขอเขียนเป็นคอนเซ็ปที่เอาไว้เรียกใช้งาน เฉยๆไว้ก่อนนะครับ ส่วนตัวอย่างโปรแกรมจริงๆ ผมจะเอา library ที่เคยยกตัวอย่างเอาไว้บทความที่แล้ว มาเป็นตัวอย่างน่าจะเป็นประโยชน์กว่า
ร่วมสนับสนุนนักเขียนด้วยการคลิ๊กลิ้ง ด้านล่าง ขอบคุณครับ รับรองไม่มีไวรัส
ต่อไปผมจะอธิบายเป็นส่วนๆ
ในการประกาศออปเจ็ค
จากตัวอย่าง เรามี Class Fan อยู่เราก็ ตั้งตัวแปร ขึ้นเป็นชื่อที่เราจำได้ง่าย
หรือ วัตถุที่เราสร้างขึ้น แต่ตัวอย่างก็ขอเปรียบเทียบแบบง่ายๆ คือ a
ตัวอย่าง
- modifier คือคีย์เวิร์ดที่อธิบายคุณสมบัติต่างๆของออปเจ็ค
final หมายถึง การกำหนดประกาศว่ามี ตัวแปร a1 นี้มีเพียวตัวเดียวเท่านั้น ห้ามตั้งเป็นเดียวกัน อย่างเช่น ค่า PI = 3.1413
- ClassName คือชื่อของคลาสสำหรับออปเจ็คนั้น
- objectName คือชื่อของออปเจ็ค
หรือจะประกาศตามนี้ก็ได้
การสร้างออปเจ็ค
- objectName คือชื่อของออปเจ็ค
- new คือคีย์เวิร์ดของภาษาจาวาเพื่อใช้ในการสร้างออปเจ็ค
- ClassName คือ ชื่อคลาส
- Arguments คือ ค่าที่ต้องการส่งผ่านในการเรียก Contructor อ่านเรื่อง Constructor คลิ๊กลิ้งที่นี้ครับ
หรือสามารถที่จะประกาศอีกวิธีหนึ่งก็ได้นะครับ คือ เป็นการสร้างและประกาศ object
การเรียกใช้คุณสมบัติ(attribute) ของ object
มีโครงสร้างในการเรียกใช้ ดังในภาพ
objectName.attributeName;
โดยนำ Object a2 มาประกาศเรียกใช้ คุณสมบัติที่สร้างไว้ ว่าเป็น motor ในตอนที่สร้างเอาไว้ที่ class Fan แต่เรายังไม่ได้ใส่ค่าอะไรให้กับมัน เราก็ ตั้งค่าให้กับมันว่าเป็น missubishi ก็ประกาศดังรูป
หรือวิธีประกาศอีกวิธีหนึ่งก็ สามารถที่จะประกาศหลัง constructor ที่ประกาศให้กับ Object a4 ได้แต่ต้องตั้ง ค่า datatype ให้กับมันด้วย
ร่วมสนับสนุนนักเขียนด้วยการคลิ๊กลิ้ง ด้านล่าง ขอบคุณครับ รับรองไม่มีไวรัส
การเรียกใช้ method ของ object
การประกาศเรียกใช้ method ก็ประกาศไม่ต่างกับ attribute มากนัก
objectName.methodName([arguments]);
- objectName คือ ชื่อออปเจ็คที่สร้างขึ้น
- methodName คือ ชื่อเมธอดของออปเจ็คนั้น
- arguments คือ ค่าที่ต้องการส่งผ่านไปให้กับเมธอดของออปเจ็คนั้น
โดยที่ a1 สามารถใช้ method ที่อยู่ใน class Fan ได้เลย คือ
SetSpeed();
ก็เป็นอันจบ เรื่อง Class และ การสร้าง Object แล้วครับ
ย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าได้ที่
JAVA : Object Oriented Programming (OOP) (ตอนที่ 1)
(JAVA) : มาทำความเข้าใจเรื่อง คลาส (Class) และ ออปเจ็ค (Object) ในภาษาจาวากัน (ตอนที่ 2.1)
อ่านบทความถัดไป
(JAVA) : Constructor ในภาษาจาวา คืออะไรกันน่ะ (ตอนที่ 3)
เขียนขึ้น เมื่อ 23 มกราคม 2558
ปรับปรุงล่าสุด เมื่อ
--------------------------------------------
รับเขียนบทความ IT, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ,ระบบไฟฟ้า , ระบบออกอากาศโทรทัศน์
Songkiat Lowmunkhong
skl_songkiat@hotmail.com
--------------------------------------------
Programming ,JAVA ,python ,php ,html ,ccs
android ,mobile ,Automation ,Rasberry PI
Network, pentest hacking, security
รับเขียนบทความ IT, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ,ระบบไฟฟ้า , ระบบออกอากาศโทรทัศน์
Songkiat Lowmunkhong
skl_songkiat@hotmail.com
--------------------------------------------
Programming ,JAVA ,python ,php ,html ,ccs
android ,mobile ,Automation ,Rasberry PI
Network, pentest hacking, security