/* scrip for google analytic */

Ads 468x60px

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[แชร์ประสบการณ์] หัวใจสำคัญของการเป็นผู้ดูแลระบบ Administrator


https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRjmLOrxBRk1bAHBZyhcTheyvm5uB9qK6Oj1Gg_Xat9j7ERCp9B6A


กราบสวัสดีเหล่าแอดมินทั้งหลายทุกๆท่านครับ เชื่อว่าคนที่ เข้ามาอ่านบทความนี้แน่นอนว่าต้องเป็นผู้ที่จะต้องดูแลระบบหรือเรียกสั้นๆว่า แอดมิน อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น แอดมินมือใหม่ แอดมินมือเก๋าช่ำชองเทคนิครู้ลึกถึงระดับ แอพพลิเคชั่น ยัน ฟิซิคัลเลเยอร์

หรือผู้ที่อยากจะเป็นและกำลังจะเป็นแอดมินในวันข้างหน้า ผู้ดูแลระบบที่ผมกล่าวนี้หมายถึงในทุกๆระบบนะครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายเว็บไซต์ ระบบดาวเทียม ระบบโทรทัศน์ ระบบโทรศัพท์ เชื่อว่าจะต้องมีเทคนิคคล้ายๆกัน

โดยเนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นประสบการณ์ล้วนๆ ไม่ได้อ้างอิงหรืออ่านมาจากที่ใด หากใครอ่านแล้วมีความเห็นต่างหรืออยากจะเพิ่มเติม เชิญแนะนำกันได้นะครับ

บทความนี้ผมขอเอาประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา มาเล่าให้ได้อ่านกันหลังจากเปลี่ยนงานมาได้ครบเดือน รับเงินก้อนแรกของการเปลี่ยนจากงานผู้ดูแลระบบ มาเป็นนักคิดระบบ

แม้ว่าจะเปลี่ยนงานแล้วก็ตามมาเป็นนักคิดแล้วก็ตามแต่ก็ยังหนีไม่พ้นกับการเป็นผู้ดูแลระบบอีกเช่นเคย เพราะต้องเข้าไปติดตั้งโปรแกรมมือถือให้กับกรรมการองค์กร ทั้งๆที่คิดว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของส่วนแอดมินองค์กรด้วยซ้ำแต่โดน ผจก.สั่งมาก็จัดการให้ท่านๆหน่อยก็แล้วกัน

http://vccsystem.eu/wp-content/uploads/2014/04/Administrator-sieci-komputerowych_small.jpg

หลายคนอาจจะสงสัยว่า กะอีแค่ติดตั้งโปรแกรมแค่นี้ ทำไมดูเหมือนเป็นเรื่องราวใหญ่โตจัง มันไม่ใช่แค่นี้ครับความรู้สึกในตอนนั้นของผม คือ

เรื่องที่หนึ่งเลยครับจะต้องทำให้กรรมการองค์กรพอใจ ไม่ใช่เลียนะครับ แต่มันเป็นเรื่องที่ควรทำ

เรื่องที่สองบอกเลยว่า แก่ครับ อายุมากทำอะไรช้าไม่ทันใจเหมือนคนใจร้อนอย่างผม ฮ่าๆ บอกให้ใส่รหัสใส่ช้าจนต้องบอกว่า ท่านครับ ขอใส่ให้นะครับท่าน...

เรื่องที่สาม คือ ไปติดตั้งให้กับมือถือส่วนตัวท่ามกลางห้องประชุม ที่กำลังประชุมอยู่ในขณะนั้น รายล้อมไปด้วยกรรมการท่านอื่นๆสายตาเคร่งเครียด

แค่สามข้อนี้จะไม่ทำให้ตื่นเต้นได้อย่างไร (อะเหื้อ...กระอักเลือด) เวลาของกรรมการองค์กรมันน้อยนิดต้องทำตอนที่ท่านๆอยู่ คือต้องเสร็จปิดจ็อบให้ได้ไวไว และแล้วเหตุการณ์ในตอนนั้นก็ผ่านไปได้ด้วยดี ด้วยทักษะบางอย่างที่อาจจะติดตัวมาจาก การเป็นผู้ดูแลระบบ นั้นเอง

http://cdn.ttgtmedia.com/rms/onlineImages/121030_006.jpg

ในทุกๆงานของการเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่าย ล้วนมีเทคนิคของมัน
สิ่งที่ผมตระหนักได้นั้น นึกได้ประมาณ 10 ข้อ

1. สติ 

คำนี้สำคัญมาก เพราะเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นมาแล้วในสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาที่จะต้องเร่งรีบแก้ปัญหาให้ทันเวลา เชื่อว่าทุกคนจะตกใจกันหมดทุกคนแน่นอน ทำผิดทำถูกเชื่อเลยว่าต้องมี ดังนั้น ควรจะตั้งสติให้ได้

 2.ความรู้ 

คำนี้ก็สำคัญรองลงมา คือ เราต้องเก็บเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับงานที่ตนเองทำ ทุกๆอย่างจนถึงระดับที่จะต้องมองภาพให้ออกว่าระบบเป็นอย่างไร อะไรต่อจะอะไร เวลาไล่ระบบจากต้นทางไปปลายทางผ่านอะไรบ้าง

 3.ความพร้อม 

ในการเตรียมความพร้อมมีอยู่สามคำครับ คือ ซ้อม ซ้อม และ ซ้อม พยายามทบทวนระบบอยู่เสมอว่าจะต้องทำอะไรกับมันบ้าง ทำอย่างไร ทำทำไม

4.มองภาพรวม 

หากเราผ่านข้อสองและสามมาได้เราก็จะสามารถมองภาพรวมได้ว่ามีอะไรเป็นส่วนที่เกี่ยวทั้งหมด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งกับการแก้ปัญหาในอนาคต 

5.ประสานงานติดต่อสื่อสารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

หากเราไม่รู้อะไรเลยจะทำอย่างไร คำตอบเดียวคือ คำถาม ถามไปเลยครับ ถามคนที่เคยผ่านประสบการณ์มา จะต้องให้ใครมาจัดการเรื่องนู่นเรื่องนี้ให้ ไม่มีใครทำงานคนเดียวได้สำเร็จ จะต้องทำงานเป็นทีม

https://blog.eduzones.com/images/blog//20130801233540.jpg

6.ช่างสังเกต 

 การสังเกตจะต้องหมั่นใช้อวัยวะในร่างกาย ด้วยการมาสะบัดอวัยวะ ไม่ใช่ล่ะ.... เช่น

ตาดู มองดูรอบๆดูความเปลี่ยนแปลงต่างๆของระบบ มีการแจ้งเตือนผ่านแสงหรือเปล่า
หูฟัง ฟังเสียง ก๊อกแก็กๆ อ๊อดๆแอ๊ดๆ แฟ็บๆมีการแจ้งเตือนด้วยเสียงหรือเปล่า
จมูกดม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์หรือไม่
การสัมผัส ลองสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานอย่างหนักว่า
เกินกำลังของมันหรือยัง เช่นความร้อน
ใช้ปาก ตะโกนไปเลยครับ....บอกเพื่อนๆให้มาช่วยๆกันแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสี่ข้อที่ผ่านมา

7.การรวบรวมข้อมูล 

รวบรวมข้อมูลต่างๆ การเกิดปัญหา ปัญหาเป็นอย่างไร เกิดขึ้นแบบไหน
ปัญหาอะไรที่เคยแก้แล้วผ่าน เก็บ Log เก็บสถิติเอาไว้ แบ่งปันให้กับทีม

8.การแยกแยะปัญหา 

อะไรเกิดก่อนเกิดหลังแล้วควรทำอะไรก่อนอะไรหลัง ควรวางขั้นตอนของงานเอาไว้ให้ดี

9.วิเคราะห์ปัญหา 

การคิดอย่างมีเหตุมีผล ใช่หรือไม่ ทำได้ หรือ ไม่ได้ ทำแล้วจะเกิดปัญหาอะไรตามมาหรือไม่

10.วางแผน 

 ข้อนี้ให้กลับไปอ่านทั้ง 9 ข้อที่ผ่านมา แล้วเริ่มวางแผนการทำงานกันได้แล้ว
 
 
Blogger Templates