สัญญาณ composite ของ SetTopBox ยี่ห้อ Planetcom เมื่อสัญญาณผ่าน
BNC 3WAY แล้วสัญญาณเป็นอย่างไร
เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่าสัญญาณ
Video ภาพบนจอโทรทัศน์ที่เราดูอยู่ทุกวันนี้ เป็นอย่างไร ที่ผมจะเสนอในบทความนี้จะเป็นสัญญาณ
Video Composite ซึ่งเป็นสัญญาณ Analog ที่ output ออกมาจากยี่ห้อ
PlanetCom ถ้าคนอ่านที่ไม่เข้าใจว่า composite คืออะไร
ก็ให้นึกถึง รูเสียบที่เป็นสี เหลือง ขาว แดง เพื่อไว้ต่อกับเครื่องเล่น DVD
หรืออื่นๆ
ครับ ช่องรูเสียบสีเหลืองตรงนี้แหละ เขาเรียกว่า Video output
Composite แต่ในทุกวันนี้ เรารับสัญญาณ Digital TV ผ่านกล่องตัวนี้โดยการ
Demodulation เพื่อมาดูผ่านโทรทัศน์ระบบ Analog โดยใช้
รูเสียบสีเหลืองมาต่อกับเครื่องโทรทัศน์แล้วเลือก โหมด AV1 หรือ AV2
ก็แล้วแต่ครับ
ถ้าหาก โทรทัศน์เป็นระบบ Digital แล้วมี build in ในตัวเพื่อรับสัญญาณ
digital ในตัวแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องพึ่ง กล่อง settopbox
ด้านหน้า panel
ด้านหลังเครื่อง
จากที่ผมทำการวัดระดับสัญญาณด้วยสโคปทางด้าน Video
ยี่ห้อ
Tektronix รุ่น WVR7200
ปัญหาที่ผมมาทดสอบกับ BNC 3WAY ก็เพราะผมพบว่าสัญญาณที่ได้เอาไปใช้เกิดการ
LOSS ทางสัญญาณ เครื่อง SERVER ที่ Capture Record
นั้นเกิดการกระพริบ
เนื่องจาก สัญญาณทาง Video นั้น สูงเกินค่าที่เครื่องกำหนดไว้ เมื่อผ่าน 3 ทางตัวนี้
ผมจึงได้วาด ภาพจำลอง มาให้เพื่อนๆดูกันครับว่าเกิดอะไรขึ้น
ในภาพแรก ต่อสัญญาณภาพโดยที่ยังไม่ได้ต่อผ่าน
BNC 3WAY
โดย coaxial Video ทางด้านซ้ายเป็นสัญญาณที่มาจาก
Composite output รูเสียบสีเหลือง แปลงเป็น BNC Impedance 75 ohm
จะเห็นว่าสัญญาณ โตมาก เพราะ Unterminated
จะเห็นได้ว่าสัญญาณ โตมากไม่ได้มาตรฐาน
และสัญญาณภาพโดนตัดหรือ คลิปที่สัญญาณ (เรื่อง unterminate
ถ้าเพื่อนๆคนไหนเข้าใจก็แบ่งปันความรู้มาได้นะครับ
อยากรู้เหมือน ถามหัวหน้า ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
แต่ถ้ายังไงถ้าหาข้อมูลมาเพิ่มได้จะมาอัพเดทครับ)
ภาพที่สอง-สาม
ต่อสัญญาณภาพเข้า BNC 3WAY แล้ววัด output ดังภาพครับ
ก็ยังเห็นว่า สัญญาณยังโตมากเหมือนเดิมเพราะยังไม่ได้ต่อ terminate
เดี๋ยวภาพต่อๆไปก็จะเห็นความแตกต่างครับ
ภาพที่สี่ ต่อสัญญาณภาพเข้า
BNC 3WAY โดยมีฝั่งนึงนำไปใช้
ทางฝั่งที่เอาไปใช้
นำเอาไป Record ในกรณีนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุดในตอนนี้เพราะสัญญาณที่ได้ออกมาดีได้มาตรฐานที่สุด
อาจจะเป็นเพราะว่าครบลูป terminate ครบทุกช่องเพราะสามทาง
ภาพที่ห้า วัดสัญญาณ
output โดยกรณีนี้ที่เกิดปัญหาสัญญาณภาพกระพริบ
โดยอีกทางฝั่งต่อ
monitor เพื่อเอาไว้ตรวจสอบ ส่วนภาพที่เอามา วัดด้วยสโคปเป็น output ที่นำไปใช้ Record แต่จะเห็นว่าถ้าต่อ
แบบนี้จะเกิด unterminate ทำให้สัญญาณโตกว่าปกติกว่ารูปที่ผ่านมา
ร่วมสนับสนุนนักเขียนด้วยการคลิ๊กลิ้ง ด้านล่าง ขอบคุณครับ รับรองไม่มีไวรัส
ภาพที่หก-เจ็ด
ต่อ dummy เพื่อสัญญาณครบลูป เรียกว่า dubble
terminate
สัญญาณที่ได้ก็ดีขึ้นแต่ว่ายังไม่ดีเท่าที่ควร
ถ้าเทียบกับภาพที่ 4 ภาพที่ 7 เหมือนภาพที่ 5
เพื่อนๆมีข้อเสนอแนะอะไร แบ่งปันกันมาได้ครับ
Update : 14/7/2558
อัพเดทเรื่อง terminate
การ teminate คืออะไร พอดีวันนี้ถามหัวหน้าอีกครั้งเรื่องนี้ โดยปกติ สัญญาณทาง Video จะมี สัญญาณที่เรียกว่า burst และ สัญญาณ sync และสัญญาณนี้จะมีค่าอยู่ที่ 1 Vp-p ในทางสัญญาณไฟฟ้า เมื่อสัญญาณที่วิ่งบนสายจะต้องลงกราวน์ เพื่อให้ครบลูปสัญญาณ โดยความแมทชิ่งของมัน จำเป็นจะต้องมีค่าที่ 75 โอห์ม ซึงจะทำให้ค่าแรงดันที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ที่ 1 Vp-p
ถ้าหากไม่ทำการ teminate หรือ un-terminate นั้น จะทำให้สัญญาณขยายแรงดันไปเรื่อยๆจนเกินค่าที่เครื่องรับสํญญาณจะรับไหวจึงเกิดปัญหาขึ้น ที่บอกว่าสัญญาณโตนั้นเอง
Update : 14/7/2558
อัพเดทเรื่อง terminate
การ teminate คืออะไร พอดีวันนี้ถามหัวหน้าอีกครั้งเรื่องนี้ โดยปกติ สัญญาณทาง Video จะมี สัญญาณที่เรียกว่า burst และ สัญญาณ sync และสัญญาณนี้จะมีค่าอยู่ที่ 1 Vp-p ในทางสัญญาณไฟฟ้า เมื่อสัญญาณที่วิ่งบนสายจะต้องลงกราวน์ เพื่อให้ครบลูปสัญญาณ โดยความแมทชิ่งของมัน จำเป็นจะต้องมีค่าที่ 75 โอห์ม ซึงจะทำให้ค่าแรงดันที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ที่ 1 Vp-p
ถ้าหากไม่ทำการ teminate หรือ un-terminate นั้น จะทำให้สัญญาณขยายแรงดันไปเรื่อยๆจนเกินค่าที่เครื่องรับสํญญาณจะรับไหวจึงเกิดปัญหาขึ้น ที่บอกว่าสัญญาณโตนั้นเอง