/* scrip for google analytic */

Ads 468x60px

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

"Writing your first script" วิธีเขียนสคลิป Linux command บทที่ 1

ระดับผู้อ่าน : ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ *น้อย-ปานกลาง 
หมายเหตุ : ให้ลองทำตามไปด้วยในบางส่วน

 
Writing your first script

สวัสดีครับ บทความนี้เพื่อเป็นการแชร์ประสบการณ์ที่เคยศึกษา และรวบรวมข้อมูลการเขียนสคลิปนำมาบันทึกเอาไว้ทบทวนเวลาลืมคำสั่งหรือเทคนิคไปนะครับ

โดยศึกษาจากเว็บไซต์ต่างประเทศต่างๆรวบรวมเอาไว้ ส่วนmainหลักเว็บไซต์ที่จะเอามาเขียน ก็จะเอาเว็บไซต์ linuxcommand เอามาเป็นหลักเพราะผมรู้สึกว่า อ่านเว็บไซต์นี้แล้ว ค่อนข้างนำคำสั่งที่จำเป็นและใช้บ่อยมาสอน ส่วนถ้าเป็น  Tip เล็กๆน้อยๆต่างๆก็จะอ้างอิงเอาไว้ให้ผู้ที่สนใจ ติดตามกันไปถ้าอยากศึกษาใน เวอร์ชั่นอังกฤษ

เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าสำหรับในบทนี้เรามารู้เบื้องต้นกันก่อนว่า เทคนิคในการเขียนสคิป Linux นั้นจะต้องรู้อะไรบ้าง

1. เครื่องมือที่ใช้เขียนสคลิป (Tools) เครื่องมือในการเขียนนั้นมีหลากหลายมากขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลหรือในบางครั้ง เครื่องมือที่ใช้ยากก็จำเป็นในบางสถานการณ์ ครับ ก็ควรจะศึกษาไว้หลายๆ เครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้เขียนได้แก่

VI

vi หรือ vim Editor รุ่นพ่อ ของระบบปฎิบัติการ อย่าง Linux ค่อนข้างที่จะใช้ยากอยู่ในลักษณะของ command line แต่ข้อดีของมันคือ ไฟล์โปรแกรมไม่ใหญ่ เบาและเร็ว



NANO

nano เป็น tools Editor อีกตัวหนึ่งที่เอาไว้ เขียนคำสั่งหรือสคลิปต่างๆ อยู่ในรูปแบบ command line อีกเช่นกันแต่ว่าจะมีความซับซ้อนของคำสั่งน้อยกว่า vi


GEDIT

gedit คราวนี้ก็มาถึงความง่ายในการใช้เครื่องมือเขียนสคลิป กัน ไม่ต้องอธิบายมากเพราะมันอยู่ในรูปแบบ GUI คล้ายกับโปรแกรม window นั้นเอง


เรารู้จักเครื่องมือกันไปแล้ว คราวนี้เราก็มาเริ่มเขียน สคลิปตัวแรกกัน แบบง่ายๆเลยนะครับ


ร่วมสนับสนุนนักเขียนด้วยการคลิ๊กลิ้ง ด้านล่าง ขอบคุณครับ รับรองไม่มีไวรัส




หมายเหตุ :

  • # เป็นการคอมเมนต์ข้อความ จะทำให้ shell ทราบว่าไม่ต้อง execute คำสั่งนั้นๆ
  • ls เป็นคำสั่ง ในการ list รายชื่อ folder หรือ file ใน path Folder ที่อยู่ในขณะนั้น
  • ./ เป็นการ execute file ให้สามารถทำงานได้


จะเห็นว่า ใน list ที่ print ออกมามีชื่อ script_1 อยู่ใน list ด้วย แต่เมื่อทำการ execute file แล้วกลับมรคำสั่งออกมาว่า "Permistion Denied" ดังนั้นเรามาศึกษา ในส่วนที่ 2 ของบทนี้กันเลยดีกว่าว่าทำอย่างไรให้ file ที่เราสรา้งขึ้นมาทำงานได้




2. Permission สิทธิ์ในการอนุญาต  ในการจะอนุญาตตั้งสิทธิ์ในการทำงานของไฟล์ จะต้องใช้คำสั่ง chmod


จากตัวอย่าง เมื่อเราเซตโดยใช้ chmod ให้กับไฟล์ script_1 ไปแล้ว แล้วใช้คำสั่ง ./ อีกครั้ง เพื่อให้มันทำงาน จะเห็นว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้นแล้ว จากเดิมต้องขึ้นว่า "Permistion Denied" เพราะว่า เรายังไม่ได้ใส่คำสั่งอะไรไปในไฟล์นั้นๆ เลยนั้นเองจึงเป็นช่องว่างเปล่า ถัดไปเราจะมาเขียน script คำสั่งกัน

หมายเหตุ : 755 คือ

  • 7 ตำแหน่งที่ 1 คือ การอนุญาต ให้ adminหรือเจ้าของไฟล์ สามารถ อ่าน-เขียน-exe ไฟล์นั้นได้
  • 5 ตำแหน่งที่ 2 คือ การอนุญาต ให้ ผู้ที่ถูกจัดกลุ่มอยู่กลุ่มเดียวกันกับเจ้าของไฟล์ สามารถ อ่าน-exe ไฟล์นั้นได้
  • 5 ตำแหน่งที่ 3 คือ การอนุญาต ให้ ทุกๆคนที่เห็นไฟล์นี้ สามารถ อ่าน-exe ไฟล์นั้นได้


จะอธิบายเรื่อง permission ในบทต่อๆไป โปรดติดตามด้วยนะครับ

จากตัวอย่างด้านบน เป็นคำสั่งอย่างง่ายที่สุด ในบรรดาการเขียนโปรแกรมเพราะเป็นตัวอย่างพื้นฐานทุกภาษา

#!/bin/bash เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการบอกให้ shell ทราบว่ากำลังเขียนภาษาอะไรอยู่ อาจจะเป็น PERL, AWK, TLC, TK, หรือ PYTHON ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง คล้ายๆกับการดึง library ออกมาใช้งานนั่นเอง

echo "Hello World!"  คำสั่ง echo ผู้ที่สนใจก็น่าจะนึกออกว่า มันคือเสียงสะท้อนนั้นเอง เปรียบเสมือนเราส่งคำสั่งนี้ออกไป แล้วข้อความก็จะปริ้นกลับมาแสดงให้เห็น เหมือนเสียง echo ดังภาพด้านล่างจะทำการ ./ อีกครั้ง


จบส่วนที่ 2 สุดท้ายเรามาดูในส่วนที่ 3 เป็นส่วนสุดท้ายของบทนี้กันครับ

3. การใส่สคลิปลง Folder PATH เป็นการสร้าง PATH เพื่อให้ script ที่เราเขียนขึ้นมานั้น สามารถ EXE โดยที่ไม่ต้องใช้คำสั่ง ./ โดยปกติสคลิปที่เราเขียนขึ้นจะยังไม่สามารถรันโดยตัวเครื่องได้เพราะ มันไม่ถูก complier ของFolder ที่จะต้องเก็บไฟล์สคลิปจริงๆ ดังนั้นเราต้องจึงต้องใช้ คำสั่ง ./ เพื่อเป็นการสร้าง PATH ให้กับสคลิปที่เราเขียนขึ้นมา ถ้าหากต้องการไม่ใช้ ./ ก็จะต้องใส่ไฟล์นั้นลงใน folder /bin หรือ /sbin

วิธีทำมีดังนี้


จากที่ได้ ใช้คำสั่ง echo $PATH แล้วมี path folder ออกมาอยู่ 6 แบบ จริงๆแล้วสามารถโยน script เข้าไปใน folder เหล่านี้ ได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสิทธิ์ในการ exe ของ แต่ละ path จะขออธิบายในบทต่อๆไป

ขอบคุณที่ติดตาม จบแล้วครับ

THE END


ติดตามในบทถัดไป
"Writing your first script" วิธีเขียนสคลิป Linux command บทที่ 1 

Credit Picture :
 
 
Blogger Templates